ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Coriander - Coriander, Chinese Parsley [3]
- Coriander - Coriander, Chinese Parsley [3]
Coriandrum sativum L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Apiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Coriandrum sativum L.
 
  ชื่อไทย ผักชี
 
  ชื่อท้องถิ่น - ผักชี(คนเมือง) - หอมป้อม, ผักหอมผอม (ไทยเหนือ), ผักหอม (นครพนม), ผักหอมน้อย (ตะวันออกเฉียงเหนือ) [3]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นพืชที่มีอายุสั้น ประมาณ 40-60 วัน เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ส่วนของต้นที่ชูขึ้นบนพื้นดินประกอบด้วยใบจำนวนมาก
ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ (palmate) ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 2-3 คู่ ก้านใบด้านในมีลักษณะเป็นร่องหุ้มลำต้น
ดอก เป็นช่อแบบซี่ร่ม (umbel) ดอกย่อยมีขนาดเล็ก แต่ละดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ (perfect flower)
ผล แบบ schizocarp เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล และแยกออกเป็น 2 ซีก แต่ละซีกเรียกว่า mericarp มี 1 เมล็ด พันธุ์ผักชีที่ใช้ปลูกในประเทศไทยมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์พื้นเมือง เป็นผักชีที่มีลักษณะลำต้นเล็ก ใบบาง
เมล็ด เล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นหอมจัด พันธุ์แอฟริกา เป็นผักชีที่มีลักษณะลำต้นใหญ่ ใบใหญ่หนา มีกลิ่นหอมเล็กน้อย อายุยาวนานกว่าพันธุ์พื้นเมือง [3]
 
  ใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ (palmate) ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 2-3 คู่ ก้านใบด้านในมีลักษณะเป็นร่องหุ้มลำต้น
 
  ดอก ดอก เป็นช่อแบบซี่ร่ม (umbel) ดอกย่อยมีขนาดเล็ก แต่ละดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ (perfect flower)
 
  ผล ผล แบบ schizocarp เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล และแยกออกเป็น 2 ซีก แต่ละซีกเรียกว่า mericarp มี 1 เมล็ด พันธุ์ผักชีที่ใช้ปลูกในประเทศไทยมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์พื้นเมือง เป็นผักชีที่มีลักษณะลำต้นเล็ก ใบบาง
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบและเมล็ด ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง ผัด น้ำพริก(คนเมือง)
- สรรพคุณความเชื่อ
ผล รสขมหวานฝาดร้อนหอมสุขุม แก้พิษตานทราง แก้กระหายน้ำ คลื่นเหียนอาเจียน ขับลมในลำไส้ แก้สะอึก แก้ตาเจ็บ ลมวิงเวียน กระทุ้งพิษไข้ เหือดหัด สุกใสดำแดง บำรุงกระเพาะอาหาร เจริญอาหาร แก้บิดถ่ายเป็นเลือด คั่วบดผสมสุรา แก้ริดสีดวงทวารมีเลือดออก ต้มเอาน้ำบ้วนปากแก้ปวดฟัน เจ็บในปากคอ
ทั้งต้น รสเผ็ดสุขุม ขับเหงื่อ ขับพิษเหือดหัด สุกใส ดำแดง ขับลม เจริญอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ดับกลิ่นคาว รมแก้ดากออก พอกทาแก้ผื่นคัน แก้ไฟลามทุ่ง ปวดศีรษะ ไอหวัด อาหารเป็นพิษ แก้สะอึก
ราก รสหอมเย็นเป็นกระสาย กระทุ้งพิษไข้หัว เหือดหัด สุกใสดำแดง
แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ ผลแห้งครั้งละ 5-10 ช้อนชา หรือหนัก 7.5-15 กรัม ต้มกับน้ำพอสมควร เคี่ยวให้งวดเหลือ 1 ใน 3 เอาน้ำดื่ม หรืออาจใช้ผลผักชีครึ่งส่วน ผสมกับเมล็ดเทียนดำ 1.5-3 ช้อนชา หรือ 3.5-7.5 กรัม ต้นกับน้ำพอสมควร เคี่ยวให้งวดลงเหลือ 1 ใน 3 เอาน้ำดื่ม
แก้หัด ใช้ต้นผักชีต้มอาบ
กากที่เหลือจากการสกัดน้ำมันออกจากผลผักชี มีโปรตีนและไขมัน นิยมนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์
หากสัมผัสน้ำมันผลผักชีเป็นเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้
ไม่ควรรับประทานผักชีในกรณีที่มีอาการท้องผูก ริมผีปากแห้ง และกระหายน้ำ [3]
 
  อ้างอิง [เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง